Raising Healthy, Happy Children General การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง


การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง เป็นสิ่งที่ทุกครอบครัวต้องเจอ และต้องทำอยู่แล้ว โดยเฉพาะครบครัวที่มีผู้สูงอายุ หรือว่ามีผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เป็นผู้ที่ใกล้ถึงระยะสุดท้ายของชีวิต ต้องมีการดูแลเอาใจใส่จากคนใกล้ตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สภาพจิตใจของคนที่จะใกล้เสียชีวิตไม่กระวนกระวาย รวมถึงคนที่ยังอยู่ด้วย ที่ต้องรับมือกับการสูญเสียเหล่านี้ให้ได้ ไม่ให้เกิดอาการตื่นตระหนก หรือว่าเสียสติจากเหตุการณ์ลักษณะนี้ 

จุดประสงค์ของการดูแลผู้ป่วยด้วยการประคับประคอง 

ในการดูแลผู้ป่วยด้วยการประคับประคองนั้น ไม่ได้หมายถึงการดูแลเฉพาะคนที่ป่วยเพียงอย่างเดียว เพราะว่าคนที่อยู่ในครอบครัว คนที่เป็นสมาชิกในครอบครัว ก็ต้องเจอกับความทุกข์ของคนที่เจ็บป่วยใกล้เสียชีวิตด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการดูแลรักษาอาการเหล่านี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการดูแลรักษาทั้งคนที่เจ็บป่วย และคนที่อยู่ในครอบครัว เพื่อให้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า  

ในส่วนของอาการต่างๆ ของตัวผู้ป่วย ก็ต้องมีการระมัดระวัง และพร้อมที่จะรับมือเช่นเดียวกัน เช่น การรับมือกับอาการต่างๆ ของผู้ที่กำลังจะสูญเสีย เพราะบางครั้งก็มีอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น อาการเจ็บป่วย อาการซึมเศร้าต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้การสูญเสียที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างธรรมชาติที่สุด ไม่เจ็บปวดทรมาน โดยไม่มีการยืดชีวิตเอาไว้เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการที่หนักกว่าเดิม 

วิธีการสังเกตอาการของผู้ป่วยในช่วงสุดท้ายของชีวิต 

หากคนในครอบครัวเป็นคนที่ต้องอยู่ดูแลให้ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ทั้งหมด เช่นการดูแลรักษาที่บ้าน สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ก็คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแล เพื่อที่จะได้สังเกตอาการได้อย่างถูกต้องนั่นเอง ว่าถ้าอาการเกิดเช่นนี้แล้ว จะรับมือแก้ไขอย่างไรดี ซึ่งอาการที่จำเป็นต้องสังเกตก็คือ 

  • น้ำหนักลด รับประทานอาหารได้น้อย หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ปรกติ มักจะสร้างความเป็นห่วงให้กับคนในครอบครัว อาจจะเป็นเพราะว่าตัวของผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนมากขึ้น ควรปรึกษากับแพทย์ทันที 
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาการต่างๆ เหล่านี้มักจะทำให้อาการอย่างอื่นของตัวผู้ป่วยแย่ลงด้วย ควรเตรียมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้พร้อมที่สุด เพื่อให้ง่ายต่อการช่วยเหลือและดูแลอย่างใกล้ชิด 
  • ไม่มีการรับรู้ ถ้าหากการรับรู้ของผู้ป่วยน้อยลง มีอาการสับสน หรือเพ้ออยู่ตลอดเวลา นั่นเป็นเพราะว่าเกิดจากความเจ็บปวดที่มากขึ้น บางครั้งก็อาจจะเกิดผลกระทบกับยาที่ใช้ด้วย ควรสอบถามกับแพทย์เพื่อทราบแนวทางในการรับมือต่อไป  
  • มือและเท้าเย็น นั่นเป็นเพราะว่าเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่เลี้ยงได้ไม่เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการมือและเท้าเย็น และนั่นอาจจะเป็นสาเหตุก่อนที่จะเสียชีวิต คนในครอบครัวควรเตรียมความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์เช่นนี้  

สรุป 

จะเห็นว่า การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ถือว่าสำคัญมากๆ ทีเดียวที่จะให้ตัวของผู้ป่วยมีความพร้อมและกังวลน้อยที่สุด ก่อนที่วาระสุดท้ายจะมาถึง ดังนั้นถ้าหากคนในครอบครัวเข้าใจและทำใจเอาไว้ได้ล่วงหน้า ก็จะทำใจกับการสูญเสียได้ดียิ่งขึ้น ไม่ขาดสติ และพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปตามหน้าที่ของตัวเอง ซึ่งการดูแลคนใกล้ชิด ก็เรียกว่าเป็นการทำหน้าที่ครั้งสุดท้ายให้ดูที่สุดนั่นเอง ก่อนที่จะไม่ได้พบเจอกันตลอดกาล